http://yangpara.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 โพสได้ทุกเรื่องเกี่ยวกับเกษตร

 สั่งซื้อสินค้า

สถิติ

เปิดเว็บ10/12/2010
อัพเดท19/09/2018
ผู้เข้าชม173,221
เปิดเพจ276,176
สินค้าทั้งหมด1

บริการ

ปุ๋ยอินทรีย์ตราวังใหญ่

ปุ๋ยชีวภาพNHPนาโน(เฉพาะยางพารา)

สนใจใช้&สมัครตัวแทน

เกี่ยวกับเรา

ความรู้ยางพารา

การปลูกพืชชนิดต่างๆ

โรคพืชและศัตรูพืช

iGetWeb.com
AdsOne.com

โรคมันสำปะหลัง

โรคมันสำปะหลังและศัตรูของมันสำปะหลัง   รอลงรูปเร็วๆนี้

โรคใบไหม้

มีสาเหตุจากบักเตรี ความเสียหาย 30% เมื่อใช้ท่อนพันธุ์จากต้นที่เป็นโรคมาปลูก และถ้าอุณหภูมิค่อนข้างสูง ความชื้นอาจทำความเสียหายถึง 80 % การแพร่ระบาดที่สำคัญคือ ติดไปกับท่อนพันธุ์

โดยฝนหรือดิน รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการเกษตร

ลักษณะอาการ เริ่มแรกแสดงอาการใบจุดเหลี่ยม ฉ่ำน้ำ ใบไหม้ ใบเหี่ยว ยางไหล จนถึงอาการยอดเหี่ยว และแห้งตายลงมา นอกจากนี้ยังทำให้ระบบท่อน้ำอาหารของลำต้นและรากเน่า

การป้องกันกำจัด

  • ใช้พันธุ์ต้านทาน      หรือพันธุ์ที่ทนทานต่อโรคปานกลาง เช่นระยอง 90 ระยอง 9
  • ใช้ท่อนพันธุ์ที่ปราศจากเชื้อ      หรือหลีกเลี่ยงการใช้ท่อนพันธุ์ส่วนโคนลำต้นหรือโคนกิ่งมันสำปะหลัง
  • ในพื้นที่ที่มีโรคระบาดรุนแรงให้ปลูกพืชหมุนเวียน      อายุสั้น เพื่อลดประชากรเชื้อโรคในดิน
  • การใช้สารเคมีเป็นทางเลือกสุดท้าย      ควรใช้สารเคมีที่มีองค์ประกอบเป็นพวกทองแดง

โรคแอนแทรคโนส

มีสาเหตุจากเชื้อรา สภาพที่มีความชื้นสูงติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์ ในพันธุ์ที่อ่อนแอ เช่นระยอง 72 ระยอง 11 ความเสียหาย 80 % ส่วนพันธุ์ที่ค่อนข้างทนทาน ยอดจะเหี่ยวแห้งตายลงมาทำให้เกิดมีการเจริญเติบโตของกิ่งหรือยอดใหม่ น้ำหนักผลผลิตจะลดลงหรือเก็บเกี่ยวล่าช้า ผลผลิตจะเสียหาย 30-40 %

ลักษณะอาการ ใบจะมีขอบใบไหม้สีน้ำตาลขยายตัวเข้าสู่กลางใบ มักปรากฏกับใบที่อยู่ล่าง ในตัวแผลบนใบจะมีเม็ดเล็ก ๆ สีดำขยายตัวไปตามขอบของแผลอาการไหม้ ส่วนก้านใบ อาการจะปรากฏในส่วนโคนก้านใบ จะเป็นแผลสีน้ำตาลขยายตัวไปตามก้านใบ ทำให้ก้านใบมีลักษณะลู่ลงมาจากยอด หรือตัวใบจะหักงอจากก้านใบ เกิดอาการใบเหี่ยวและแห้งได้ ส่วนลำต้นและยอด แผลที่ลำต้นจะเป็นแผลที่ดำตรงบริเวณข้อต่อกับก้านใบและมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม แผลจะขยายตัวไปสู่ส่วนยอดทำให้ยอดเหี่ยวแห้งลงมา

การป้องกันกำจัด

  • ใช้พันธุ์ต้านทาน
  • การใช้ท่อนพันธุ์ปลอดโรค
  • ปลูกพืชหมุนเวียน
  • ไถกลบเศษซากมันสำปะหลังลึก      ๆ ช่วยลดประชากรเชื้อโรคในดินได้

โรครากหรือหัวเน่า

พบในแหล่งที่ดินระบายน้ำไม่ดี หรือสภาพดินดานและฝนตกชุกเกินไป

โรคหัวเน่าเละ เกิดจากเชื้อรา ต้นเหี่ยวเฉา ใบล่าง ๆ มีสีเหลือง และเหี่ยวแห้งหลุดร่วงลงมา ส่วนใบยอดมีขนาดเล็ก ต้นแคระแกรน ไม่เจริญเติบโต เมื่อขุดรากดูพบรากเน่าเละสีน้ำตาล มีกลิ่นเหม็น

โรคหัวเน่าแห้ง เกิดจากเชื้อเห็ดรา ที่หัวมันสำปะหลังจะมีเส้นใยของเชื้อราปกคลุม อาจพบบริเวณโคนต้นด้วย เนื้อในหัวจะเน่าแห้งและเส้นใยของเชื้อราจะก่อตัวเป็นดอกเห็ดสีต่าง ๆ ได้ เช่น สีขาว สีเหลือง หรือส้ม นอกจากนี้โคนต้นจะบวม เนื่องจากมีการสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาทดแทนส่วนที่ถูกทำลายไปและอาจเกิดรากใหม่ตรงบริเวณเนื้อเยื่อที่บวม ทำให้เกิดหัวมันสำปะหลังใหม่ขึ้นมา แต่มีขนาดเล็ก

โรคหัวเน่าดำ เกิดจากเชื้อรา จะมีลักษณะหัวเน่าสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม เนื่องจากเป็นสีที่เกิดจากเส้นใยของเชื้อรา หรือส่วนขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของเชื้อรา

โรคเน่าคอดิน เกิดจากเชื้อรา มักพบอาการในต้นกล้า ลักษณะต้นมันสำปะหลังจะเหี่ยวเฉาตายและมีเม็ดผักกาดพร้อมกับเส้นใยสีขาวปกคลุมส่วนของโคนต้นที่ติดอยู่กับผิวดิน

การป้องกันกำจัด

  • การเตรียมแปลงปลูก      ควรไถระเบิดดินดานให้มีการระบายน้ำที่ดี
  • การไถตากดินเป็นเวลานาน      ๆ จะช่วยลดประชากรของเชื้อราในดินได้
  • กำจัดเศษซากมันสำปะหลังเก่า      ๆ จากแปลงเพาะปลูกให้หมด
  • คัดเลือกท่อนพันธุ์สมบูรณ์และปราศจากโรค
  • ในพื้นที่ที่มีโรคระบาดรุนแรง      ปลูกพืชหมุนเวียนอย่างน้อย 6 – 12 เดือน

Tags : โรคมันสำปะหลัง มันสำปะหลัง โอทู ฮอโมน ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยชีวภาพ ศัตรูมันสำปะหลัง เพลี้ยแป้ง

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view