http://yangpara.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 สินค้า

 บทความ

 โพสได้ทุกเรื่องเกี่ยวกับเกษตร

 สั่งซื้อสินค้า

สถิติ

เปิดเว็บ10/12/2010
อัพเดท19/09/2018
ผู้เข้าชม173,204
เปิดเพจ276,159
สินค้าทั้งหมด1

บริการ

ปุ๋ยอินทรีย์ตราวังใหญ่

ปุ๋ยชีวภาพNHPนาโน(เฉพาะยางพารา)

สนใจใช้&สมัครตัวแทน

เกี่ยวกับเรา

ความรู้ยางพารา

การปลูกพืชชนิดต่างๆ

โรคพืชและศัตรูพืช

iGetWeb.com
AdsOne.com

โรคอ้อย

โรคลำต้นเน่าแดงและใบขีดแดง

เชื้อรา Colletotrichum falcatum

โรคลำต้นแดง และโรคเส้นใบแเดงนี้เกิดจากเชื้อสาเหตุเดียวกัน   พบได้ในแหล่งปลูกอ้อยทั่วประเทศ และสร้างความเสียหายได้ในระดับหนึ่ง   บางพันธุ์เป็นโรคถึง 30% และพบอาการเส้นใบแดง 25%   ถ้าแสดงอาการเส้นใบแดงจะไม่ทำความเสียหายมากนัก เพียงแต่ทำให้อ้อยเหี่ยวแห้งเร็วกว่าปกติ   และมักพบเกิดกับใบแก่มากกว่าใบอ่อน การเป็นโรคทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง   ปริมาณน้ำตาลลดลงด้วย อ้อยตอไม่สามารถเจริญต่อไปได้

พบการระบาดที่กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ กาญจนบุรี นครปฐม   ประขวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สุพรรณบุรี ขอนแก่น อุดรธานี ชลบุรี และระยอง และยังไม่พบว่าโรคนี้เข้าทำลายพืชอย่างอื่น

อ้อยเป็นโรคในระยะที่กำลังเจริญเติบโตย่างปล้อง   และระยะอ้อยแก่ เปลือกภายนอกลำต้นเป็นรอยแผลสีน้ำตาล ยอดเหลือง ปล้องเหี่ยวเน่า   ทำให้อ้อยตายทั้งกอ ภายในลำอ้อยเน่าแดง มีรอยแต้มเล็ก ๆ สีขาว คั่นในรอยแผลเป็นระยะ   ๆ ในลักษณะตั้งฉากกับความยาวลำ รอยแต้มขาวอาจไม่ปรากฏในอ้อยบางสายพันธุ์   แผนเน่าเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เมื่ออาการโรครุนแรง เนื้ออ้อยเน่าจะยุบเป็นโพรง   มีเส้นใยเชื้อราสีเทาอ่อนเจริญฟูอยู่ภายในปล้อง   ในสภาพอากาศชื้นเชื้อราจะเจริญจากภายในลำเน่าออกมาสู่ภายนอกลำอ้อย   สร้างกลุ่มสปอร์เห็นเป็นเม็ดสีส้มบริเวณปุ่มรอบ ๆข้ออ้อย   อ้อยเป็นโรคแสดงอาการใบเหลือง ยอดแห้ง กอตายในที่สุด   โรคมักระบาดร่วมกับอาการเหี่ยว เรียกรวมกันว่า โรคเหี่ยวเน่าแดง   ลำอ้อยเน่าช้ำสีน้ำตาลปนม่วง รากเน่าดำ อ้อยแห้งตาย

เชื้อราสาเหตุโรคสามารถอยู่ในเศษซากอ้อย   และในใบ้อยที่พบอยู่ในไร่อ้อย หรือบนเศษซากอ้อยที่เป็นโรค   จึงสามารถแพร่กระจายเชื้อต่อไปได้ โดยสปอร์สามารถกระจายไปกับลมและน้ำฝน

1. ไถแปลงอ้อยตอที่เป็นโรครุนแรงทิ้ง   คราดตออ้อยเกาออกจากพื้นที่ให้หมด

2. ปลูกพืชอื่นหมุนเวียนในพื้นที่โรคระบาด   โดยหลีกเลี่ยงพืชอาศัยของโรค เช่น ข้าวฟ่าง

3. ตากดินนานเกินกว่า   3 เดือนก่อนปลูกอ้อยใหม่ ปรับปรุงดินกรดด้วยปูนขาว และเตรียมดินให้ระบายน้ำดี

4. ใช้พันธุ์อ้อยที่ต้านทานหรือต้านทานปานกลางปลูกในพื้นที่ซึ่งมีการระบาดของโรค

5. คัดเลือกท่อนพันธุ์อ้อยที่สมบูรณ์และไม่เป็นโรคนำมาปลูก

6. ก่อนปลูกอาจมีการแช่ท่อนพันธุ์อ้อยในสารเคมีกำจัดโรคพืช   เบโนมิล 50% ดับบลิวพี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไธโอฟาเนตเมธิล 70%   ดับบลิวพี อัตรา 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 30 นาทีก่อนปลูก   และพ่นสารดังกล่าวบริเวณโคนกออ้อยเดือนละครั้ง ระหว่างที่อ้อยอายุ 1-5 เดือน   ช่วยลดความรุนแรงของโรคได้

7. ป้องกันกำจัดหนอนเจาะลำต้นอ้อย   เพื่อไม่ให้เกิดช่องทางให้เชื้อโรคเข้าสู่ต้นอ้อย

    อู่ทอง 2 อู่ทอง   4 เค84-200 เค90-77 ฟิล63-17

โรคเน่าคออ้อย (แบคทีรีโอซีส)

 

ยอดอ้อยมีการหักพับลง ทำให้ใบอ้อยกลายเป็นสีเหลือง และสีน้ำตาล สามารถดึงให้หลุดออกจากกันได้ง่าย

เชื้อแบคทีเรีย Erwinia carotovora

พบมีการระบาดและสร้างความเสียหายในประเทศไทยไม่มากนัก   แต่มักมีการระบาดและสร้างความเสียในช่วงที่มีฝนตกชุก และมีความชื้นในอากาศสูง

อาการเน่าปรากฏชัดเจนในระยะอ้อยย่างปล้อง อ้อยมีใบเหลือง   ยอดแห้ง กอตายเป็นหย่อม ๆ ในไร่ ลำอ้อยจะเน่าจากยอดลุกลามลงไปในลำ   ยอดที่เน่ามักหักพับบริเวณข้อใกล้ยอด ข้ออ้อยเปราะ ปล้องอ้อยหลุดจากกันได้ง่าย   เนื้ออ้อยภายในลำเน่ามีลักษณะฉ่ำน้ำ มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว บางครั้งเน่าเละ   ยุบเป็นโพรง เหลือส่วนท่อน้ำท่ออาหารเห็นเป็นเส้น ๆ ภายในปล้อง   เมื่อตัดลำอ้อยตามขวางบริเวณโคนลำ จะเห็นวงสีแดงในเนื้ออ้อยใต้ผิวเปลือกโดยรอบลำ

เชื้อสาเหตุโรคสามารถติดไปกับท่อนพันธุ์ที่นำไปปลูก   และเชื้อสาเหตุโรคสามารถแพร่กระจายตัวไปพร้อมกับการพัดพาของสายลม   และน้ำฝนที่ชะล้าง

พบว่าโรคมีการระบาดและสร้างความเสียหายได้มากขึ้นเมื่อสภาพอากาศมีความชื้นสูง

1. เตรียมดินให้มีการระบายน้ำดี   ปรับดินให้มีความเป็นกลางด้วยปูนขาว และไถพลิกตากดิน

2. หลีกเลี่ยงการปลูกพันธุ์อ้อยที่อ่อนแอในแหล่งที่พบการระบาดของโรคอย่างรุนแรง

3. ตรวจไร่อย่างสม่ำเสมอ   เมื่อพบลำอ้อยเริ่มมีใบเหลืองยอดเหี่ยว ควรรีบตัดลำหรือขุดกอออกเผาทำลาย   ก่อนที่เน่าและฉ่ำน้ำ ควรตัดหรือขุดกออ้อยในขณะที่อากาศแห้ง

4. อาจมีการฉีกพ่นกออ้อยด้วยสารปฏิชีวนะ   Tessamycin + Streptomycin ช่วยลดการลุดลามของโรคได้   แต่อาจต้องใช้แรงงงานและค่าใช้จ่ายในปริมาณที่สูง

5. ตัดอ้อยแปลงที่เป็นโรคเข้าหีบทันทีเมื่อเข้าสู่ฤดูการหีบอ้อย   และไม่ควรนำอ้อยจากแปลงที่เป็นโรคไปเป็นท่อนพันธุ์ต่อไป   และหากพบว่าในไร่อ้อยมีกออ้อยที่ตายมากกว่า 20%   ให้รื้อแปลงและปลูกใหม่ด้วยพันธุ์อ้อยที่ต้านทาน

โรคเหี่ยว

 

เชื้อรา Cephalosporium sp.   และ Fusarium subglutinans

พบว่ามีความสำคัญและสร้างความเสียหายได้บ้างในแหล่งที่มีการปลูกแบบให้น้ำชลประทาน   แต่ความเสียหายไม่มากนัก

อาการปรากฏให้เห็นในระยะอ้อยอายุ 6-7 เดือน อ้อยมีใบเหลือง   ปลายใบแห้ง ระบบรากเน่า เมื่อผ่าดูภายในลำ เนื้ออ้อยภายในลำส่วนบนลักษณะปกติ   เนื้ออ้อยในส่วนโคนบางลำปกติ แต่บางลำเน่าแดงช้ำฉ่ำน้ำ หรือเน่าแดงแห้งแกรน   หรือแห้งคล้ายขาดน้ำบริเวณโคนลำใต้ดิน ลำที่พบอาการเน่าภายในโคนลำ   ยอดอ้อยจะเหี่ยว อาการเน่าลุกลามทั้งลำทำให้ลำแห้งตายในที่สุด   ส่วนลำที่ภายในลำปกติและมีอาการเน่าเฉพาะส่วนราก ใบอ้อยจะเหลืองแต่ยอดไม่เหี่ยว

เมื่อถึงปลายฤดูปลูก   จึงพบอ้อยที่อาการเน่าลุกลามขึ้นไปด้านบนของลำ จะแห้งเหลืองตายเป็นหย่อม ๆ ในไร่   ส่วนกออ้อยที่มีเฉพาะอาการรากเน่าจะยังสามารถให้ผลผลิตได้   แต่จะไม่สมบูรณ์เท่าอ้อยที่เป็นปกติ

เชื้อสาเหตุโรคสามารถพักตัวและติดอยู่ในเศษซากอ้อย   หรือแพร่กระจายไปพร้อมกับท่อนพันธุ์อ้อย   และเชื้อราสามารถสร้างส่วนขยายพันธุ์และปล่อยไปพร้อมกับฝนและลม

1. ไถแปลงอ้อยที่เป็นโรครุนแรง   หลังจากการตัดอ้อยเข้าหีบในช่วงปลายฤดู

2. ใช้พันธุ์อ้อยที่ต้านทานต่อโรค   เลือกปลูกในพื้นที่ซึ่งพบการระบาดของโรค   และหลีกเลี่ยงการปลูกอ้อยพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรค

3. ใช้ท่อนพันธุ์อ้อยที่มั่นใจว่าปลอดโรค   และมีสุขภาพดี

4. ปลูกพืชหมุนเวียน   ยกเว้นพืชที่อาจเป็นแหล่งอาศัยของเชื้อต่อไปได้ เช่น ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่วเขียว

5. กำจัดวัชพืชที่อาจเป็นพืชอาศัยสลับของเชื้อโรค   เช่น พง อ้อ หญ้าโขมงดอกเล็ก และหญ้าปากควาย

6. อาจราดโคนอ้อยด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา   เบโนมิล 50% ดับบลิวพี หรือ ไธอาเบนดาโซล 90% ดับบลิวพี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20   ลิตร ปริมาตร 300 มิลลิลิตรต่อกอ

7. ควบคุมหนอนเจาะลำต้นอ้อย   เพื่อไม่ให้อ้อยเกิดแผลอันอาจเป็นช่องทางให้เชื้อโรคเข้าสู่อ้อยได้

อู่ทอง 4, เค90-77

เค88-92, ฟิล66-07, เค93-318, อู่ทอง   3

โรคเหี่ยวเน่า

เกิดจากเชื้อรา Fusarium, Glomerella tucumanensis, Cephalosporium sp.

สร้างความเสียหายให้แก่อ้อยไม่มากนัก   แต่มักสร้างปัญหาในแหล่งทีมีการปลูกอ้อยและให้น้ำแบบชลประทาน

อ้อยจะมีการเหี่ยวแบบเฉียบพลัน ยืนต้นแห้งตาย ใบและกาบใบ   ลำต้น เป็นสีน้ำตาลแห้ง ภายในปล้องเน่าเละ เนื้ออ้อยช้ำมีสีน้ำตาลปนม่วง   มีจุดสีแดงปะปนเล็กน้อยและกลวงเป็นจุด ๆ ภายในมีเชื้อราฟูสีขาวปนเทา

เชื้อราสามารถอยู่ข้ามฤดูได้ในเศษซากพืชที่เป็นโรค   ในสภาพที่มีอากาศชื้น   เชื้อราสาเหตุโรคจะมีการสร้างส่วนขยายพันธุ์และปล่อยไปพร้อมกับลม หรือฝน

1. หลีกเลี่ยงการปลูกพันธุ์อ้อยที่อ่อนแอ

2. หลีกเลี่ยงสภาพน้ำท่วมขังและการระบายน้ำไม่ดีในไร่อ้อย

3. ทำลายแหล่งของเชื้อในแปลงอ้อย

โรคแส้ดำ

เชื้อรา Ustilago scitaminea Sydow.

โรคแส้ดำนี้จัดว่าเป็นโรคที่สำคัญมากโรคหนึ่งของอ้อยในประเทศไทย   ทั้งนี้เพราะทำความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการปลูกอ้อยมาก คือทำความเสียหายปีละหลายร้อยล้านบาท   ซึ่งเป็นตัวเลขซึ่งได้จากการประเมินเมื่อมี พ.ศ. 2521

พบโรคนี้ระบาดมากในฤดูปลูก เมื่ออ้อยอายุประมาณ 3-6 เดือน ส่วนมาก   เป็นกับอ้อยตอมากกว่าอ้อยปลูกใหม่ ทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลงหรือเก็บเกี่ยวไม่ได้เลย   คุณภาพเป็นกับอ้อยตอมากกว่าอ้อยปลูกใหม่ ทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลงหรือเก็บเกี่ยวไม่ได้เลย   คุณภาพลดลง ในพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคปริมาณน้ำตาบจะต่ำกว่าปกติ 10-28% น้ำหนักลดลง 70-75% อ้อยแห้งตายได้ทุกระยะการเจริญเติบโต   ทั้งนี้ความเสียหายจะมากหรือน้อยขึ้นกับ

1.ระยะการติดเชื้อ คือเชื้อติดมากับท่อนพันธุ์เดิม   หรือได้รับเชื้อในภายหลัง

2.ประเภทของอ้อย คือ อ้อยปลูกใหม่หรืออ้อยตอ

3.อายุและการติดเชื้อ คือ ต้นฤดูหรือปลายฤดู

4.พันธุ์อ้อย

อ้อยที่เป็นโรคจะแคระแกร็น แตกกอคล้ายตะไคร้ ใบแคบและเล็ก   ลำผอมเรียวข้อสั้นเตี้ย ส่วยยอดสุดของหน่อหรือลำอ้อยเป็นโรค   หรือยอดสุดของหน่ออ้อยที่งอกจากตาข้างของลำเป็นโรค มีลักษณะคล้ายแส้ยาวสีดำ   ซึ่งเกิดจากการที่เชื้อราสร้างสปอร์สีดำจำนวนมาก   รวมกันแน่นอยู่ภายในเนื้อเยื่อผิวของใบยอดสุดที่ม้วนอยู่ ระยะแรกจะเห็นเยื่อบาง   ๆ สีขาวหุ้มแส้ดำเอาไว้ จนเมื่อสปอร์มีจำนวนมากจะดันเยื่อที่หุ้มอยู่ให้หลุดออก   เห็นผงสปอร์สีดำจำนวนมากปกคลุมส่วนของใบยอดที่ม้วนแน่นจนมีลักษณะเป็นก้านแข็งยาว   แส้ดำที่ปรากฏอาจตั้งตรง หรือม้วนเป้นวง กออ้อยที่เป็นโรครุนแรง จะแคระแกร็น   แตกกอมาก ลักษณะเป็นพุ่มเหมือนกอหญ้า ใบเล็กแคบ อ้อยไม่ย่างปล้อง   ถ้าเป็นรุนแรงมาก อ้อยอาจแห้งตายทั้งกอได้ กอที่บางลำในกอเจริญเป็นลำ   ลำอ้อยจะผอมลีบกว่าลำอ้อยปกติ อาการปรากฏรุนแรงในอ้อยตอมากกว่าอ้อยปลูก

ลดพัดพาสปอร์แพร่ไปเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ก็มี ฝนและน้ำ   หรือท่อนพันธุ์อาจได้รับเชื้อทางสัมผัสโดยตรง หรือจากสปอร์ที่มีอยู่ในดินก่อนที่จะปลูก

      
  1. ไถแปลงอ้อยตอที่เป็นโรครุนแรง        เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นแหล่งของเชื้อแพร่ระบาดต่อไปในอ้อยปลูก
  2.   
  3. ปลูกพันธุ์อ้อยที่ต้านทาน        และหากอยู่ในพื้นที่เป็นโรครุนแรง ควรหลีกเลี่ยงการปลูกอ้อยพันธุ์อ่อนแอ
  4.   
  5. ปลูกอ้อยด้วยท่อนพันธุ์อ้อนที่สมบูรณ์ ไม่เป็นโรค        เนื่องจากโรคแส้ดำสามารถถ่ายทอดผ่านทางท่อนพันธุ์ได้
  6.   
  7. แช่ท่อนพันธุ์อ้อยในสารป้องกันกำจัดโรคพืช ไตรไดอามีฟอน        20% ดับบลิวพี อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โพรพิโคนาโซล 250 อีซี        อัตรา 16 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร แช่นาน 30 นาทีก่อนปลูก
  8.   
  9. ตรวจไร่อ้อยสม่ำเสมอหลักงจากปลูก        เมื่อพบกออ้อยเริ่มแสดงอาการแส้ดำ ควรตัดแส้ดำออกขณะเริ่มปรากฏอาการ        ก่อนที่เยื่อหุ้มแส้ดำจะหลุดออก หรือขุดกออ้อยที่เป็นโรคออกมาเผาทำลาย
  10.   
  11. หลีกเลี่ยงการไว้ตออ้อยที่เป็นโรคแส้ดำ

อู่ทอง 2, อู่ทอง 4, เค 84-77, เค   90-77

เค 93-153

โรคโคนเน่า

เกิดจากเชื้อรา Marasmiellus sp.

ทำให้อ้อยไม่เจริญเติบโต และตายได้

ต้นอ่อนจะมีการเน่าบริเวณโคนต้น   และกาบใบระดับดินมีเส้นใยสีขาวของเชื้อรามองเห็นได้อย่างชัดเจน   ในระยะต่อมาอาจจะมีเชื้อราชนิดอื่นมาขึ้นปะปนด้วย   ต้นอ้อยที่เป็นโรคจะไม่มีการเจริญเติบโต   ใบมีเหลืองส้มและใบล่างมีการแห้งตายเนื่องจากการขาดธาตุอาหาร   หน่ออ้อยจะแห้งตายหรือตายทั้งต้น

พบว่ามีการระบาดและสร้างความเสียหายเมื่อแปลงอ้อยมีความชื้นสะสมค่อนข้างสูง   และมีการระบายอากาศไม่ได้ แดดส่องไม่ถึงโคน

1. ปลูกอ้อยที่ต้านทานต่อโรค   และหลีกเลี่ยงการปลูกอ้อยสายพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรค

2. ทำลายแหล่งของเชื้อโรคที่อยู่ภายในแปลงอ้อย

โรคใบเหลือง

 

(ซ้าย) ไร่อ้อยที่พบแสดงอาการของโรคใบเหลือง (ขวา) มีการแตกหน่อสีขาวที่บริเวณโคนอ้อย

 

เชื้อไฟโตพลาสมา

คาดว่าสาเหตุของโรคเข้าทำลายที่ระบบท่อน้ำท่ออาหาร   แต่ลักษณะอาการของโรคคล้ายคลึงกับโรคใบขาวอ้อยและคล้ายกับอ้อยที่กำลังจะแก่   จึงไม่ได้ความสนใจมากนัก

โรคนี้ทำความเสียหายมากกับอ้อยที่นิยมปลูกเป็นการค้าในแหล่งปลูกในภาคตะวันออก   ภาคเหนือตอนล่าง ภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งเป็นแหล่งปลูกอ้อยที่สำคัญ ในแปลงที่เป็นโรครุนแรงมากทำให้ไม่มีอ้อยตัดส่งโรงงานเลย

อ้อยที่เป็นโรคจะแสดงอาการเหลืองที่เส้นกลางใบและแผ่นใบที่อยู่ติดกับเส้นกลางใบ   และขยายตัวออกไปยังขอบใบและปลายใบ ต่อไปใบจะแห้งตาย สีของอาการแตกต่างออกไปตามพันธุ์อ้อย   ทั้งนี้จะพบว่ามีสีเหลืองอ่อนไปจนถึงสีส้ม อาการปรากฏชัดบนใบแก่ และใบกลางแก่   ไม่ค่อยพบบนใบอ่อน ใบจะแห้งตายไปเรื่อยๆ จากด้านล่างขึ้นสู่ยอด   โรคนี้พบมากกับอ้อยอายุมากกว่า 4-6   เดือน อ้อยที่เป็นโรคชะงักการเจริญเติบโตการย่างปล้องมีน้อยลง   ทำให้ใบยอดๆ เกิดซ้อนกันแน่นเป็นกระจุก   หน่อที่แตกใหม่แสดงอาการใบขาวระบบรากเสื่อมโทรม อ้อยแคระแกร็น แตกกอมาก หน่อจะไม่โตหากเป็นโรคมากจะเกิดอาการแห้งตายทั้งกอ

ติดไปกับท่อนพันธุ์ของอ้อยบางพันธุ์ เช่น พันธุ์แร็กนาร์   การแพร่ระบาดด้วยวิธีอื่นๆ ยังไม่มีรายงาน

1.ไม่นำอ้อยจากไร่หรือจากแหล่งที่มีโรคระบาดไปทำพันธุ์

2.คัดเลือกอ้อย หรือพันธุ์อ้อยที่ไม่แสดงอาการใบเหลือง   หรือใบขาวไปทำพันธุ์

3.เผาทำลายอ้อยที่เป็นโรค

4.กำจัดวัชพืชในไร่อ้อยซึ่งอาจจะเป็นพืชอาศัยของโรคนี้   ทั้งนี้เพราะพบวัชพืชที่แสดงอาการใบเหลืองในไร่อ้อยเสมอๆ

Tags : อ้อย โรคอ้อย

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view